27.9.12

วิธีการปลูกพืชในที่ร้อนแล้งดินแข็ง

วิธีการปลูกพืชในที่ร้อนแล้งดินแข็ง

Plantation in hot Air and hard soil

การปลูกพืชในที่แห้งแล้งแบบภาคอีสานที่เป็นดินทรายดินชั้นบนแข็งมาก เนื่องจากความชื้นน้อยประกอบกับภาวะโลกร้อนขึ้นทุกปี อุณหภูมิสูงขึ้น จนทำให้ต้นไม้ที่เราปลูกใหม่ๆ ต้องตายไปหรือไม่ก็เลี้ยงไม่โต สมัยก่อนไม่ต้องรดน้ำมาก ไม่ต้องต่อท่อน้ำหยด แต่เดี๋ยวนี้ต้องใช้น้ำหยดต่อท่อเป็นเรื่องเป็นราว

วิธีการปลูกพืชในที่ร้อนแล้งดินแข็งการเตรียมความพร้อมของพืช

1.ชนิดต้นไม้

เลือกชนิดต้นไม้ที่ทนแล้งโดยการสำรวจพื้นที่ว่าชาวบ้านปลูกอะไรแล้วใบยังเขียวดีในช่วงฤดูแล้ง โดยไม่ต้องดูแลมากซึ่งมักจะพบว่าต้นยูคาลิปตัส สะเดา มันสำปะหลัง มะฮอกกานี ยังเขียวอยู่ และลองสังเกตดูว่าไม้ป่าหรือไม้อะไรที่โตได้ดี ในช่วงแล้งจัดๆ ซึ่งอาจพบว่ามีกระถิน ปีบ นุ่น ตะคร่ำ แสลงพัน เถาหญ้านาง มะรุม ส่วนไม้ปลูกที่ต้องดูแลหน่อยเต่ดูงามดีในฤดูแล้งก็มีลำใย

2.ต้นและใบ

ใบอ่อนจัดมักทนแดดไม่ไหว ใบต้องแก่พอสมควร นอกจากนี้ก่อนการออกปลูกควรฝึกซ้อมออกแดดจัดและลดการรดน้ำ จนเหลือรดน้ำสัปดาห์ละครั้งยังอยู่ได้ทั้งที่อยู่ในถุงที่จำกัด การฝึกออกแดดนั้นต้นที่อยู่ได้จะอดทนพอที่จะไปบุกต่อแต่บางต้นที่อ่อนแอก็จะตายไปบ้าง เราควรคัดเลือกเมล็ดพันธุ์โดยการปลูกด้วยเมล็ดแล้วดึงต้นที่ไม่แข็งแรงออกไป เหลือแต่ต้นที่แข็งแรงเวลาปลูก การดูแลจะน้อยลงเพราะต้นไม้มีความอดทนสูงมาก

3.ถุงและดินถุง

สมัยก่อนนิยมใช้ดินดำผสมขี้เถ้า ปุ๋ยคอก ขุ่ยมะพร้าว ทำเป็นถุงเพาะชำ เดี๋ยวนี้นิยมใช้ขี้เถ้าแกลบอย่างเดียวใส่ในถุงเพาะชำซึ่งสะดวกดีและมักใช้ถุงขนาดเล็กๆ อีกด้วยคุณสมบัติของขี้เถ้าแกลบในถุงเพาะชำที่ดีคือ เรื่องความดำ รากงอกดี ระบายน้ำแล้วไม่แฉะข้อเสียคือขี้เถ้าแกลบแห้งเร็วเวลาเอาไปปลูกมักแห้งกรอบเร็ว อีกทั้งเวลาแห้งหน่อยเมื่อต้องเอาถุงออกจากต้นกล้าไม้มักแตกรุ่ย กระเทือนถึงรากตัดกำลังต้นไม้ในการต่อสู้ทำให้อัตราการรอดตายน้อย เพราะรากกระเทือนและแห้งเร็ว

ทางแก้ไขคือ ต้องเทน้ำใส่ถุงเพาะชำให้มากๆ เปิดกรีดเฉพาะก้นถุง ด้านข้างใช้กรีดเป็นทางยาวประคองลงหลุม วิธีนี้ไม่ค่อยจะสะดวกแต่การเหลือถุงด้านข้างไว้ทำให้ก้อนดินรอบต้นไม้ไม่ขาดขณะลมโยกต้น อีกวิธีหนึ่งโดยการเปลี่ยนถุงให้ใหญ่ขึ้นเปลี่ยนดินเป็นดินร่วนผสมปุ๋ยคอกและขี้เถ้าแกลบเศษหญ้าฟางเล็กๆ

(ฟางสับ) แล้วเอาถุงเล็กทั้งถุงใส่ลงในถุงใหญ่เลี้ยงในเรือนเพาะชำจนแข็งแรงก่อน แล้วมีรากยึดดินทั่วถุง เทคนิคการกรีดถุงบีบถุงให้แน่นให้ดินหลวมถุงหากแห้งไปไม่จับตัวให้ใส่น้ำก่อน จับถุงมือซ้ายเอายอดออกจากตัวเอามีดกรีดถุงตามยาวจนถึงก้นถุง จับยอดเข้าหาตัวเอารอยกรีดคว่ำดึงถุดำออก โดยจับที่ขอบถุงดำระวังไม่ให้ดินแตกวางมือทอดลงในหลุมแล้วเอาดินกลบดินถุงที่เขาใส่ถุงเล็กๆ เพื่อให้สะดวกในการขายและขนส่ง หากเขาเพาะชำเองจะใช้ถุงใหญ่ทีเดียวโดยไม่ต้องเปลี่ยนถุงคนขายมักใส่ขี้เถ้าแกลบ หากเราทำเองควรผสมดินทีเดียวใส่ถุงใหญ่มีดินร่วนดำดีๆ ไปหามาผสมปุ๋ยคอกผสมเถ้าแกลบผสมใบไม้แห้งเล็กน้อยและดินเบา (ไดอะตอมไมต์) เพื่อช่วยจมน้ำ หัดดูดินดำดีๆ ให้เป็นจะมีลักษณะร่วนซุยไม่จับตัวหญ้าขึ้นงามเอามาป้อนถุงเพาะชำต้นอ่อน หากดินจับตัวให้ผสมขี้เถ้าแกลบและซากใบไม้กิ่งไม้แห้งหรือซากกิ่งไม้

4.ราก

ระบบรากที่แข็งแรงย่อมต่อสู้กับความแห้งแล้งได้ดี ต้นไม้ที่โตขึ้นเรื่อยๆ แล้วไม่นำไปปลูกจะต้องมีการเปลี่ยนถุงอยู่บ่อยๆ ทำให้ระบบรากขดเป็นวงๆ จากวงเล็กเป็นวงใหญ่ตามขนาดถุง วิธีแก้คือ ใช้ถุงยาวขึ้น รีบปลูกอย่าค้างนาน บางแห่งนิยมใช้เมล็ดแบบถั่วงอกแล้วไปเตรียมหลุมปลูกในที่ดินเลยรากก็จะตรงต้นยูคาลิปตัสกิ่งชำก็จะไม่มีรากแก้วแต่แข็งแรงดี เนื่องจากเป็นพืชเติบโตเร็ว ทนทาน ต้นไม้ไม่มีรากแก้วก็ไม่ต้องเสียเงินใช้รถแบ็คโฮมาขุดตอในภายหลังซึ่งจะทำให้ต้นทุนสูงขึ้นมากหลักการเวลาปลูกต้นไม้คือ ต้องพยายามไม่ให้รากกระเทือนเลย ควรยกถุงเพาะชำย้ายที่ก่อนอย่าพึ่งรีบปลูก หากรากที่ออกนอกถุงลงดินถูกดึงขาดจะทำให้ต้นเฉา ถ้าจะเลี้ยงต่อให้ฟื้นต้องฝึกออกแดดก่อนนำไปปลูก เวลากรีดถุงเพาะชำเอาพลาสติกออกก่อนปลูกระวังอย่าให้รากขาด โดยอาจเปิดเฉพาะกันถุงด้านข้างใช้วิธีกรีดตามยาวให้รากแทงออกได้ การกดดินให้แน่นรอบต้นเพื่อพยุงต้นอย่าเหยียบแบบรูดให้ใช้กดข้างๆไกลออกไปในแนว 45 องศา จากต้น จงประคองรากให้ดีก่อนปลูก หากยกถุงรากขาดควรอนุบาลให้ดีก่อน เมื่อพอตั้งตัวได้ค่อยประคองลงหลุมอย่าให้สะเทือนมิเช่นนั้นต้นไม้จะสู้แดดไม่ได้การเตรียมความพร้อมของดินสำหรับการปลูก

5.ดินในพื้นที่และสภาพอากาศ

ดินทีมีปัญหาในที่ร้อนแล้งดังนี้

5.1 ดินทรายแน่นเปลือกดินแข็งมาก เป็นดินทรายเม็ดละเอียดมี % ดินเหนียวชั้นบนแข็งมาก หน้าแล้งต้องใช้อีเตอร์ขุด ใช้จอบขุดจะไม่เข้า ความแข็งจะอยู่ในช่วง 20 ซม.แรก หากรากอยู่ในชั้นเปลือกแข็งจะโตไม่ไหวเลยนิยมใช้รถไถพรวน สาเหตุเกิดจากดินถูกรถวิ่งทับ ไม่เคยถูกไถ ถูกเปิดหน้าดิน ถูกแดดแผดเผาจนแห้งกรอบ หรือถูกสารเคมีมานาน ดินประเภทนี้เวลาปลูกมันสำปะหลังแล้วยังต้องใช้รถไถขุดออก ถอนด้วยแรงคนหรือคานงัดไม่ได้

5.2 ดินทรายปนชั้นหินมาก มีก้อนหินโตๆ วางสลับอยู่ทั่วไปมักเป็นพื้นที่เชิงเขาของภูเขาหินทรายตามภาคอีสาน วิธีการปลูกนั้นจะใช้รถไถไม่ได้ วางแนวลำบากเพราะตัวหลุมอาจตรงกับหินก้อนโต เทคนิคการปลูกอาจต้องแทรกสลับไปตามดินระหว่างหินล้อเลียนธรรมชาติ เลือกพืชพันธุ์ให้เหมาะ ดินประเภทนี้สังเกตดูว่าต้นไม้เดิมๆ ต้นมีขนาดโตแค่ไหนก็แคระแกร็นแสดงว่าเป็นได้เพียงป่าแคระ หากมีต้นไม้ใหญ่ขนาดคนโอบอยู่ได้แสดงว่าดินยังดีมีความหวัง

5.3 ดินร่วนทรายบนที่ราบ และอาจมีเกลือเค็มขึ้นมา อย่างนี้ทั้งแล้งทั้งร้อนทั้งเค็ม ต้องเลือกพืชที่ทนเค็มและปรับปรุงสายพันธุ์ที่สามารถปรับตัวได้แล้วเน้นพันธุ์ท้องถิ่น

5.4 อื่นๆ สำหรับสภาพอากาศนั้นต้องสังเกตุดูตามฤดูกาลต่างๆ ซึ่งเดี๋ยวนี้ดูดินฟ้าอากาศยากให้เทียบกับปีที่แล้ว แต่ละถิ่นฝนมาไม่เหมือนกันบางทีมา 2 ช่วง คือ ช่วง เมษยน พฤษภาคม และช่วสิงหาคม กันยายน หรือต้นเข้าพรรษา และปลายออกพรรษา ปริมาณน้ำฝนก็ไม่เท่ากัน บางครั้งฝนตกไม่ทั่วฟ้าน้ำเป็นปัจจัยสำคัญที่ไหนน้ำดีชาวไร่จะมีเศรษฐกิจดี ต้นไม้งาม คนน่าตาสดใส ทายได้เลยว่าดินดีน้ำดี หากต้นไม้แคระแกรน คนหน้าเกรียมๆ ดูเหี้ยมๆ บ้านไม่ค่อยเป็นระเบียบ เดาได้เลยว่าดินแย่น้ำน้อย “น้ำเป็นปัจจัยแห่งเศรษฐกิจ” ทางแก้สำหรับที่น้ำน้อยคือ ควรจะเลือกเวลาปลูกต้นไม้ตอนดินชุ่มเต็มที่ในฝนหนักแรกเพื่อให้ต้นไม้รากติดก่อนฝนแล้ง ซึ่งควรจะเตรียมหลุมเตรียมพื้นที่เลย เวลาปลูกจะสั้น ปลูกวันสองวันก็เสร็จ อีกอย่างควรมีการหาน้ำซับหรือเจาะน้ำบาดาลมมาช่วยการระบายลม สังเกตว่าที่ใดระบายอากาศดี ต้นไม้อื่นๆ จะเติบโตเร็วด้วย การทำไร่ การทำสวนต้องคิดถึงการออกแบบช่องทางให้ลมเดินด้วย หากทึบๆ แน่นๆ สังเกตดูมะม่วงไม่เคยออกลูกจะออกเฉพาะตรงที่ลมเข้าถึงเท่านั้น การโปร่งอาจต้องมีการทำช่องว่างใต้โคนต้นและระหว่างในแต่ละต้นด้วย จากต้นใหญ่ไล่ลงมาต้นเล็กๆ

หน้าผาความลาดชันที่แดดส่องทั้งวันจะร้อนมาก ในขณะที่บางแห่งมีร่มเงาแดดของภูเขาบัง พืชก็จะเติบโตได้ง่ายกว่าการปลูกบนที่ร้อน จะต้องวัดดูอุณหภูและความชื้นว่า เพียงพอ พอดีหรือเปล่า ถ้าร้อนมากก็ใช้วัสดุฉนวนมาปกป้อง

6.ขนาดหลุมปลูก

หากที่ดินดีขนาดหลุมกว้างเพียง 50x50x50x ซม. แต่ถ้าดินไม่ดีใช้ขนาดหลุม 100x100x100 ซม. ระยะห่างหลุมตามชนิดของต้นไม้ เช่น ต้นมะขามเทศ ต้นมะพร้าว ห่างประมาณ 7-8 เมตร ต้นผักหวานป่า 1.5x1.5 เมตร ขนาดหลุมควรออกแบบให้ต้นไม้โตได้สัก 2 ปี ก็จะดี 

7.ดินก้นหลุม

เพื่อล่อให้รากลงหากินลึกๆ จะได้พ้นเขตเปลือกดินแข็งทำได้ทนแล้งได้ดี น้ำที่อยู่ผิวดินระยะ 20 ซม. แรกจะแห้งมากในฤดูแล้งลึกลงไปหากมีน้ำซับซึมอยู่ จะทำให้ต้นไม้อยู่ได้ต้องทำให้ดินก้นหลุมร่วนและมีปุ๋ย โดยเอาปุ๋ยคอกรองก้นหลุมอาจผสมโพลีเมอร์ลงไปด้วยสักหนึ่งช้อนโต๊ะในกรณีที่ไม่ใส่น้ำ แต่ถ้าหากแช่น้ำพองแล้วก็ใส่สัก 1 ถ้วยแก้ว ใส่ฟางสั้นผสมสลับใส่ปุ๋ยพืชสดที่เอามาจากแถวๆ นั้นลงไป ใส่ขี้เถ้าแกลบอาจใช้จอบเอาดินในพื้นที่หลุม หรือดินขี้หลุมผสมลงไปสัก 10-20 % เพื่อให้ต้นไม้ชินต่อดินในพื้นที่ก่อนจะแทรกรากไปหากินจริงวางปุ๋ยคอกผสมฟาง ผสมดิน ผสมปุ๋ยพืชสด (ใบไม้ที่ย่อยง่าย) หรือโพลีเมอร์ เช่นนี้ลงจนเป็นฐานหลุม การผสมฟางจะทำให้ดินพองตัวไม่แน่น เพิ่มอินทรีย์สารในดิน การผสมขี้เถ้าแกลบจะช่วยทำให้ดินพรุนตัวไม่จับตัวกันแน่น ให้ปุ๋ยแก่ดินบ้าง

8.ดินกลบต้นไม้

ใช้ดินปากหลุมผสมฟางขี้เถ้าแกลบ กลบอัด เวลาอัดให้แน่นอย่าให้ไปกระเทือนรากหรือไปรูดราก จะทำให้ต้นไม้ทนแล้งไม่ได้ในช่วงแรกและตายในที่สุด

9.ระยะปากหลุม

ในที่แห้งแล้ง ต้องออกแบบให้หลุมลึก 10-20 ซม. อาจต้องทำร่องดักน้ำผิวดินให้ลงมาที่หลุมด้วย ร่องชักน้ำเข้าหลุมอาจเป็นแบบทางเดียว หรือสองทาง ขวาง ความลาดเอียงไว้หากที่ร้อนมากๆ อาจต้องขุดหลุมลึกๆ ไม่ต้องกว้างปลูกต้นไม้แล้วยอดยังอยู่ในหลุม (กรณีตัวเล็กๆ) หลุมดินจะทำให้ต้นไม้ทนต่ออุณหภูมิความร้อน ที่แดดแผดเผาได้และดักน้ำได้ดี

10.หลักไม้ยึดต้น

ปักหลักไม้เพื่อจับยึดลำต้นกล้าไม้ไม่ให้ปลิวตามลมและจะทำให้ลำต้นขึ้นตรง

11.ฟางรักษาความชื้น

ให้เอาฟางหรือหญ้าแห้งมารักษาความชื้นหน้าดินไม่ให้แสงแดดทำให้ความชื้นระเหย เอาฟางไปแช่น้ำก่อนสัก 1 ชั่วโมง ก่อนนำมาใช้ก็จะดีคลุมพื้นที่รอบๆ ต้นกล้าไม้รัศมีอย่างน้อย 1 ฟุต ในบางแห่งที่ดินพื้นที่ร้อนมากๆ อาจใช้ฟางปูตั้งแต่ก้นหลุมและข้างหลุมด้วย ตลอดจนการทำใส้ตะเกียงสี่ทิศให้ดึงน้ำจากปากหลุมลงรากต้นไม้ได้ง่าย

12.ตอกันคนเดินสดุด

ปักหลักแล้วสูงจากพื้นดินประมาณ 20-30 ซม. ใช้ประมาณ 3 หลักต่อต้นเผื่อๆ ไว้ห่างจากขอบหลุมประมาณ 10 ซม. กันคนเดินสดุดต้นอ่อนโดยพลั้งเผลอ หลังจากที่เรารื้อซุ้มคลุมต้นไม้ออก อาจปักตั้งแต่แรกเลยก็ได้ จะได้ไม่ยุ่งยากภายหลัง

13.น้ำรด

น้ำรดครั้งแรกนี่สำคัญเหมือนการเตรียมสเบียงกรังก่อนเดินทางไกล บางสูตรจะแนะนำให้เทน้ำจนเต็มหลุมครั้งแรกหลังจากปลูก หลังจากนั้นก็สัปดาห์ละครั้งเว้นแต่ฝนตก การรดน้ำควรรดช่วงแดดอ่อนโดยรดทั้งใบและต้นได้ก็จะดี หากจัดจังหวะดีๆ ปลูกแล้วไม่นานฝนตกจะลดขั้นตอนนี้ได้ การต่อท่อดำพีวีมาหยดก็จะช่วยได้มากหรือจะต่อสายยางมายืนรดเองก็ได้ เช่นกัน

14.ปลูกเพื่อนพืช

การปลูกพืชทนแล้งนำก่อนก็จะดีเพื่อเป็นร่มเงาอาจเป็นหญ้า ต้นพริก ต้นมะเขือ มันสำประหลัง พืชตระกูลถั่ว ละหุง ที่อาจมาปลูกพร้อมดิน หรือปลูกล่วงหน้าก่อนจนโตได้ที่ แล้วค่อยปลูกพืชหลักที่ต้องการ สังเกตว่าต้นมะพร้าวที่ปลูกแล้วใบเหี่ยวแห้งตาย อาจต้องปลูกเพื่อนพืชก่อน รักษาดินให้ชุ่มแล้วจึงค่อยปลูกพืชเศรษฐกิจบางไร่นิยมทำไร่ให้โล่งเตียนก่อนปลูกพืชเศรษฐกิจ ซึ่งต้นไม้จะร้อนมาก บางแห่งนิยมให้ต้นไม้อื่นขึ้นก่อนคลุมประปราย แล้วค่อยปลูกพืชเศษรฐกิจอย่างนี้พืชจะเย็นตัว เพื่อนพืชควรเป็นพืชที่เราทำลายได้ง่าย หากเป็นต้นกระถินจะปราบยากมากและเปลืองค่าใช้จ่าย วิธีการปราบต้นกระถินที่ได้ผลดีคือการตัดต้นให้ขาดแล้วใช้น้ำยาฆ่าตอยางพรา (การ์คอน) ผสมน้ำมันดีเซล เอาแปรงทาตอที่แผลสดๆ ต้นจะตายหรือใช้ยาฆ่าวัชพืชแรงๆ มาฉีดใส่หลังตัดต้นการเตรียมพื้นที่ก่อนปลูกพืชเศรษฐกิจนั้นบางแห่งใช้วิธีเผาป่า เอาลงหมดต้องการดูพื้นที่โล่งๆ ซึ่งดูเป็นไร่กว้างๆ วิธีนี้นิยมทั่วไปแต่เวลากู้มันสำประหลังหมดพื้นที่จะร้อนมากซึ่งไม่ดี ควรเลือกต้นไม้ใหญ่กระจายเป็นหย่อมๆ กระจายไปทั่ว แต่ยังคงรักษาแสงแดด อากาศ ระบายความชื้นกำลังพอดี บางจุดอาจเหลือให้หนาแน่นเป็นพื้นที่ก็ได้ อย่างนี้ถือว่าดี

15.ซุ้มโครงไม้ค้ำและวัสดุคลุม

ในการปลูกระยะแรกอาจใช้ไม้ค้ำสามเส้าปักรอบดิน มัดด้วยเชือกแล้วเอาวัสดุคลุมเพื่อบังแสงแดดการบังอาจใช้ฟางมัดคลุมก็ได้ หากมีทางมะพร้าว ใบหมากก็จะสะดวกเอามาทำซุ้มได้ดี การคลุมอาจคลุมด้วยพลาสติกมุ้งกันยุงมาปิดเย็บเป็นถุงครอบก็ได้ หรือใช้ถุงปุ๋ยพลาสติกมาปิดคลุม บางแห่งใช้เข่งไม้ไผ่ที่สานกันห่างๆ มาครอบก็ได้เพื่อป้องกันลม แสงแดด ไก่เป็ดที่จะมาจิก โครงไม้แพง่ายๆ อีกวิธีหนึ่งคือการใช้กิ่งกระถินปัก โดยไม่ริดกิ่งแล้วใช้ฟางโปรยคลุมตามกิ่ง ทั้งนี้ให้เปิดช่องตรงกลางให้ยอดต้นไม้โผล่ออกมาด้วย

ข้อแนะนำ              

- การปลูกพืชในที่ร้อนแล้งดินแข็งนั้น การดูแลต้นไม้ก่อนปลูกและหลังปลูกช่วง 2 ปี แรกนั้นมีความสำคัญมาก เพราะหลังจากนั้นก็ลดการดูแลลงได้ เหมือนการดูแลคนตั้งแต่อยู่ในครรภ์และขณะที่ยังเป็นทารกอยู่

- สิ่งที่ต้องสนใจมากในการปลูกพืชในที่แล้งร้อนก็คือ ความร้อนจากแสงแดด ความชื้น โดยต้องเน้นเรื่องการเตรียมหลุม การทำที่บังแสงแดด อาจต้องใช้วิธีพิเศษเข้าช่วย โดยการปลูกเพื่อนพืชก่อนล่วงหน้า

- ให้พยายามใช้สารเคมีมีพิษให้น้อยที่สุด ใช้เท่าที่จำเป็นจริงๆ ในกรณีที่หาวิธีการอื่นไม่ได้แล้ว

- พยายามไปดูคนในพื้นที่ว่าเขาปลูกโดยวิธีอะไร ทำไมจึงได้ผล พืชบางอย่างทนร้อนไม่เก่งต้องขึ้นอิงแอบเพื่อนพืช เช่น ต้นยอ ต้นผักหวานป่า เป็นต้น

 

15.9.12

การขยายพันธุ์กุหลาบที่นิยมใช้มี 3 วิธี คือ

การขยายพันธุ์กุหลาบที่นิยมใช้มี 3 วิธี คือ

1. การตัดชำ
วิธีการตัดชำที่นิยมทำอยู่ทั่วไปคือ เลือกกิ่งกุหลาบที่ไม่แก่และไม่อ่อน จนเกินไปนำมาตัดเป็นท่อนประมาณ 12-15 เซนติเมตร หรือ 1 คืบ รอยตัดต้อง อยู่ใต้ข้อพอดีแล้วตัดใบตรงโคนกิ่งออก จากนั้นเฉือนโคนทิ้ง แล้วจุ่มโคนกิ่งตัดชำนี้ ในฮอร์โมนเร่งราก เซ่น เซอราดิกส์ เบอร์ 2 (เพื่อช่วยเร่งให้ออกรากเร็วขึ้น) แล้วผึ่ง ให้แห้งนำไปปักชำในแปลงพ่นหมอกกลางแจ้ง ถ้าไม่มีแปลงพ่นหมอกก็ใช้เครื่องพ่นน้ำรดสนามหญ้าก็ได้แล้วให้น้ำเป็นระยะ ๆ ตามความจำเป็น โดยมีหลักว่าอย่า ให้ใบกุหลาบแห้ง กิ่งกุหลาบจะออกรากใน 12-15 วัน แล้วแต่พันธุ์ การชำกิ่งนี้ นิยมทำกันมากในปัจจุบันเพราะได้จำนวนต้นมากในระยะเวลาสั้นเสียค่าใช้จ่าย น้อยแต่กิ่งชำนี้เมื่อนำไปปลูกต้นจะโทรมเร็วภายใน 3- 4 ปี ซึ่งกุหลาบพันธุ์สีเหลือง และสีขาวมักจะออกรากยาก

2. การตอน
กิ่งที่ใช้ตอนมักมาจากกิ่งที่มีสภาพแตกต่างกันทั้งกิ่งอ่อนและกิ่งแก่ คละกันไปทำให้การเจริญเติบโตของต้นกุหลาบหลังลงแปลงปลูกในแปลงไม่สม่ำเสมอ ซึ่งการตอนนี้จะใช้เวลาในการเกิดรากนานประมาณ 4-7 สัปดาห์ ทั้งนี้ แล้วแต่ พันธุ์ที่จะใช้ตอน


3. การติดตา
วิธีการทำต้นกุหลาบติดตานี้ค่อนข้างยุ่งยากและต้องใช้เวลาในการทำ นานกว่า 2 วิธีแรกคือ ตั้งแต่เริ่มตัดชำต้นตอป่าจนถึงพันธุ์ดีทีนำไปติดนั้นออก ดอกแรกจะใช้เวลาประมาณ 5-6 เดือน โดยในขั้นแรกจะต้องตัดชำต้นตอป่า (ของกุหลาบป่า) ให้ออกรากและเลี้ยงต้นตอป่านั้นให้แตกยอดใหม่ยาวเกิน 1 ฟุต ขึ้นไป ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 3 เดือน (หลังตัดชำและออกราก) จากนั้นจึงนำ ตาพันธุ์ดีที่ต้องการไปติดตาที่บริเวณโคนของต้นตอป่า การติดตานี้จะต้องอาศัย ฝีมือและความชำนาญพอสมควรโดยจะใช้วิการติดตาแบบใดก็ได้ เช่น แบบตัวที เป็นต้น

วิธีติดตา วิธีติดตากุหลาบที่ได้ผลดีคือการติดตาแบบที่เรียกว่ารูปตัวที หรือ แบบโล่ มีวิธีทำดังนี้คือ

1. เลือกบริเวณที่จะติดตา ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะพยายามติดตาให้ต่ำที่สุด เท่าที่จะทำได้คือ ประมาณไม่เกิน 3 นิ้ว นับจากผิวดิน แล้วใช้กรรไกรหรือมีด ตัดหนามตรงบริเวณที่จะติดตาออกโดยรอบกิ่ง

2. ใช้ปลายมีดกรีดที่เปลือกเป็นรูปตัวที แล้วเผยอเปลือกตรงรอยกรีด ด้านบนให้เปิดออกเล็กน้อย

3. เฉือนตาเป็นรูปโล่ ให้ได้แผ่นตำยาวประมาณ 1 นิ้ว และให้แผ่นตานั้น มีเนื้อไม้ติดมาด้วยเพียงบางๆ ไม่ต้องแกะเนื้อไม้ติดมามาก ให้ลอกเนื้อไม้ออกอย่าง ระมัดระวังอย่าให้แผ่นตาโค้งงอหรือบอบช้ำ

4. นำแผ่นตาไปเสียบลงที่รอยกรีดของต้นตออย่างระมัดระวังอย่าให้แผ่นตาช้ำ โดยใช้มือซ้ายจับแผ่นตา (ตรงก้านใบ) ค่อย ๆ กดลงไปขณะเดียวกันมือขวา ก็ค่อยเปิดเปลือกช่วย แล้วพันด้วยพลาสติก
เพื่อให้ตาเจริญเติบโตเร็วขึ้น ควรปล่อยให้กิ่งใหม่เจริญเติบโตจนกระทั่ง กิ่งใหม่ยาวพอสมควรแล้วจึงตัดต้นตอที่อยู่เหนือกิ่งใหม่ออกทั้งหมด สำหรับ พลาสติก ที่ติดตาอยู่นั้นอาจจะปล่อยให้ผุหรือหลุดไปเองก็ได้ถ้าเห็นว่าแผ่นพลาสติกนั้นรัด ต้นเดิมแน่นเกินไปหรือไปขัดขวางการเจริญเติบโตของกิ่งใหม่ก็ให้แกะออก
ส่าหรับกิ่งที่แตกออกมาใหม่นี้ ควรมีไม้ผูกพยุงกิ่งไว้เสมอเพราะอาจจะ เกิดการฉีกขาดตรงรอยต่อได้ง่ายเนื่องจากรอยประสานยังไม่แข็งแรงนัก

ในกรณีที่การติดตานั้นไม่ได้ผล คือ แผ่นตาที่นำไปติดตานั้นเปลี่ยนเป็น สีน้ำตาลหรือสีดำให้รีบแกะแผ่นพลาสติกและแผ่นตานั้นออกแล้วติดตาใหม่ในด้าน ตรงข้ามกับของเดิม หากไม่ได้ผลอีกต้องเลี้ยงดูต้นตอนั้นจนกว่ารอยแผลจะเชื่อม ก้นดีแล้วจึงนำมาติดตาใหม่ได้
สำหรับการติดตาในกุหลาบแบบทรงต้นสูง (Standard) นั้นก็ทำเช่นเดียวกัน เพียงแต่ตำแหน่งที่ติดตาอยู่ในระดับสูงกว่าเท่านั้นเอง การติดตาจะติดที่ต้นตอหรือกิ่ง ขนาดใหญ่ที่แตกออกมาก็ได้

Red Rose