สายน้ำผึ้งจากความหอมของไม้ดอก
สู่ความหวานของไม้ผล
ช่วงปลายปีต่อต้นปี คือ ระหว่างเดือนธันวาคม ถึง เดือนกุมภาพันธ์ อันถือเป็นปีใหม่ของชาวจีน เป็นฤดูของส้มเขียวหวานที่มีมากทั้งปริมาณและคุณภาพ โดยเฉพาะส้มเขียวหวานพันธุ์ใหม่ ๆ ที่คนไทยนิยมกินกันในช่วงไม่กี่ปีมานี้ เช่น ส้มพันธุ์สายน้ำผึ้ง ซึ่งช่วงแรก ๆ มีราคาแพงมากจนปัจจุบันมีราคาเดียวกันกับส้มเขียวหวานพันธุ์ดั้งเดิมแล้ว
ส้มพันธุ์สายน้ำผึ้งมีสีสันและรสชาติเข้มข้นกว่าส้มเขียวหวานพันธุ์ดั้งเดิม ที่เรียกกันส้มบางมด ความจริงส้มพันธุ์สายน้ำผึ้งเป็นพันธุ์ส้มที่นำเข้ามาจากต่างประเทศและตั้งชื่อเป็นภาษาไทย เช่นเดียวกับไม้ดอกชนิดหนึ่งซึ่งนำเข้ามาจากต่างประเทศแล้วตั้งชื่อว่า ต้นสายผึ้งเหมือนกัน
สายน้ำผึ้ง : ไม้ดอกจากต่างแดน
สายน้ำผึ้งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lonicera japonica Thunb. อยู่ในวงศ์ Caprifoliaceae เป็นไม้เลื้อยยืนต้น
ลำต้น เป็นเถาแข็งยาวราว 5 – 8 เมตร ลำต้นและกิ่งอ่อนมีขนนุ่มปกคลุม กิ่งแก่เปลือกเป็นสีน้ำตาลเกลี้ยง
ใบ เป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ตามข้อของลำต้น ใบเป็นรูปไข่ขอบขนานโคนใบมน ปลายแหลม ขอบใบเรียบท้องใบสีอ่อน หน้าใบสีเขียวเข้มเรียบเป็นมัน แผ่นใบค่อนข้างหนาและแข็ง กว้างราว 2.5 ซม. ยาวราว 5 ซม.
ดอก ออกตามปลายกิ่งหรือซอกใบ ออกเป็นช่อ ๆ ช่อละประมาณ 15 ดอก ก้านช่อดอกสั้น โคนดอกของแต่ละดอกมีใบประดับ 1 คู่ กลีบดอกติดกันเป็นท่อยาวราว 5 ซม. ปลายดอกเป็นกลีบแยกออกจากกัน ด้านบนติดกันเป็น 4 กลีบ ด้านล่างแยกออกมา 1 กลีบ มีเกสรตัวผู้เป็นเส้นยื่นออกมากลางดอก 5 เส้น มีเกสรตัวเมีย 1 อัน กลีบดอกตูมและเมื่อเริ่มบานมีสีขาว จากนั้น 2 – 3 วัน เปลี่ยนเป็นสีเหลืองอ่อนและเหลืองเข้ม มีกลิ่นหอมเย็นและกลิ่นแรงขึ้นในเวลากลางคืน สายน้ำผึ้งออกดอกได้ตลอดปี ผลสุกมีสีดำ
สายน้ำผึ้งมีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในเขตอบอุ่นของทวีปเอเชียตะวันออก เช่นในญี่ปุ่น จึงมีชื่อภาษาอังกฤษว่า Japanese Honey suckle สันนิฐานว่าคงมีผู้นำเข้ามาปลูกในประเทศไทยไม่เกิน 100 ปีมานี้เอง และชื่อสายน้ำผึ้งคงมาจากชื่อภาษาอังกฤษที่มีคำว่า Honey อยู่ด้วย
สายน้ำผึ้งนิยมปลูกเป็นไม้ประดับให้ขึ้นต้นไม้รั้วหรือเลื้อยไปตามพื้นดิน เหมาะสำหรับพื้นดินที่ระบายน้ำได้ดี ขยายพันธุ์ได้ทั้งการเพาะเมล็ด ตอนกิ่งและปักชำ
สายน้ำผึ้ง มีสรรพคุณทางสมุนไพรด้วยเช่น
เถาสด แก้บิด ท้องเสีย ถ่ายเป็นเลือด แผลเปื่อย ปวดเมื่อยตามข้อ ขับปัสสาวะ ลดไข้ แก้ไข้หวัด
ดอกตูม แก้ลำไส้อักเสบ ท้องเสีย
9.1.09
ผักบุ้งฝรั่ง ความงามสาธารณะสำหรับผู้ยากไร้
ผักบุ้งฝรั่ง ความงามสาธารณะสำหรับผู้ยากไร้
หลายเดือนที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสไปร่วมงานประชุมระดับภูมิภาคประเทศอินเดีย ระหว่างการประชุมผมถือโอกาสเดินทางไปเยี่ยมชมหมู่บ้านของชาวอินเดีย 2 -3 แห่ง พบว่าโดยทั่วไปแล้วมีสภาพภูมิประเทศที่แห้งแล้ง และมีฐานะยากจนกว่าชาวไทยแถบตะวันออกเฉียงเหนือเป็นอย่างมาก
ชาวอินเดียในหมู่บ้านแห่งหนึ่งเล่าให้ฟังว่า ช่วงที่มีอาชีพรับจ้างทำงานในเมืองนั้น มีรายได้พอสำหรับอาหารวันละหนึ่งมื้อเท่านั้น ต้องทำงานหนัก และกินอาหารเพียงหนึ่งครั้งต่อวันอยู่นานหลายปี ก่อนที่จะผันตัวเองออกมาทำงานด้านเกษตรกรรมยั่งยืนแบบพื้นบาน จนปัจจุบันมีรายได้เพียงพอที่จะซื้ออาหารกินวันละ 3 มื้อ และยังเหลือเก็บไว้ซื้อที่ดิน ทำฟาร์มปศุสัตว์ และสร้างบ้านได้อีกด้วย
กลับกันเกษตรกรรมแบบแผ่นใหม่ ซึ่งเป็นเกษตรกรรมเชิงเดี่ยว พึ่งสารเคมี กลับมีความเป็นอยู่ที่แร้นแค้นลำบากยากจนอย่างยิ่ง
ท่ามกลางความลำบากยากจนของชาวอินเดีย และความแห้งแล้งกันดารของภูมิประเทศดังที่กล่าวมาข้างต้น ผมก็ยังพบความงดงามที่ทำให้ชื่นใจอยู่บ้างคือ บริเวณที่ลุ่ม ซึ่งเคยมีน้ำขังอยู่เมื่อฤดูฝนมาเยือน ปรากฏพืชชนิดหนึ่งนี้ออกดอกสะพรั่งงดงาม เป็นความโดดเด่นตัดกับสภาพแวดล้อมที่อยู่รอบด้าน
พันธุ์ไม้ดังกล่าวจำได้ว่า เคยพบเห็นอยู่ในชนบทของจังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อประมาณ 50 ปีมาแล้ว เพราะบางบ้านและบางวัดนำมาปลูกไว้ดูดอก เนื่องจากเป็นพันธุ์ไม้แปลกที่มาจากต่างถิ่น แม้ปัจจุบันจะหาดูไม่ได้แล้ว แต่ผมก็ยังจำได้ถึงชื่อที่เคยเรียกขานนามว่าผักบุ้งฝรั่ง
ผักบุ้งฝรั่ง : ความงามสาธารณะจากต่างแดน
ผักบุ้งฝรั่งมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Ipomoea purpures (L.) Roth อยู่ในวงศ์ Convolvulaceae เป็นไม้พุ่มยืนต้น สูงราว 180 – 240 เซนติเมตร (1.8 – 2.4 เมตร) แตกกิ่งก้านสาขาค่อนข้างมาก ลำต้นมีเปลือกสีเขียว
ใบ เป็นใบเดี่ยวรูปร่างคล้ายใบผักบุ้ง แต่ขนาดใหญ่กว่า ก้านใบยาว ใบมีสีเขียวเข้ม และมีขนอ่อนปกคลุม
ดอก ออกเป็นช่อ ตามยอดหรือปลายกิ่ง แต่ละช่อมีดอกราว 10 -20 ดอก โดยจะทยอยบานครั้งละ 2 – 4 ดอก ต่อเนื่องกันไป ดอกมีสีม่วงอ่อนหรือสีชมพูจาง ๆ ลักษณะคล้ายดอกผักบุ้ง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 - 7 ซม. ออกดอกตลอดทั้งปี
ผักบุ้งฝรั่งชอบแดดจัด ขึ้นได้กับดินทุกชนิด ชอบความชื้นสูงหรือที่เปียก ขยายพันธุ์ด้วยการปักชำหรือเพาะเมล็ด
ถิ่นกำเนิดดั้งเดิมของผักบุ้งฝรั่งอยู่ในทวีปอเมริกาบริเวณประเทศเม็กซิโกและเปรู ผักบุ้งฝรั่งในไทยนั้นเชื่อว่ามาจากประเทศอินเดียอีกทอดหนึ่ง ไม่ได้นำมาจากแหล่งกำเนิดโดยตรง น่าจะเข้ามาในประเทศไทยไม่เกิน 100 ปีที่ผ่านมานี้
ชื่อภาษาอังกฤษของผักบุ้งฝรั่งคือ Bush Morning Glory (มอร์นิ่งกลอรี่) ภาษาไทยเรียกผักบุ้งฝรั่ง ผักบุ้งพุ่ม ผักบุ้งรั้ว และผักบุ้งบก
ประโยชน์ของผักบุ้งฝรั่ง
ผักบุ้งฝรั่งเคยเป็นไม้ประดับของคนไทยเมื่อราว 50 ปีที่แล้ว พบปลูกทั่วไปตามบ้านเรือนและวัด ปัจจุบันความนิยมลดน้อยลงมาก แต่ยังพอหาพันธุ์มาปลูกได้ไม่ยาก เนื่องจากผักบุ้งฝรั่งเป็นไม้ยืนต้น ออกดอกตลอดปี ทั้งยังทนทานปลูกง่าย เมื่อออกดอกเต็มต้นแล้วจะมีความงดงามไม่ด้อยไปกว่าไม้ดอกชนิดอื่น ๆ จึงน่าจะหามาปลูกเอาไว้บ้าง เพราะแม้จะไม่ใช่ผู้ยากไร้ก็ชื่นชมผักบุ้งฝรั่งได้เช่นกัน
หลายเดือนที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสไปร่วมงานประชุมระดับภูมิภาคประเทศอินเดีย ระหว่างการประชุมผมถือโอกาสเดินทางไปเยี่ยมชมหมู่บ้านของชาวอินเดีย 2 -3 แห่ง พบว่าโดยทั่วไปแล้วมีสภาพภูมิประเทศที่แห้งแล้ง และมีฐานะยากจนกว่าชาวไทยแถบตะวันออกเฉียงเหนือเป็นอย่างมาก
ชาวอินเดียในหมู่บ้านแห่งหนึ่งเล่าให้ฟังว่า ช่วงที่มีอาชีพรับจ้างทำงานในเมืองนั้น มีรายได้พอสำหรับอาหารวันละหนึ่งมื้อเท่านั้น ต้องทำงานหนัก และกินอาหารเพียงหนึ่งครั้งต่อวันอยู่นานหลายปี ก่อนที่จะผันตัวเองออกมาทำงานด้านเกษตรกรรมยั่งยืนแบบพื้นบาน จนปัจจุบันมีรายได้เพียงพอที่จะซื้ออาหารกินวันละ 3 มื้อ และยังเหลือเก็บไว้ซื้อที่ดิน ทำฟาร์มปศุสัตว์ และสร้างบ้านได้อีกด้วย
กลับกันเกษตรกรรมแบบแผ่นใหม่ ซึ่งเป็นเกษตรกรรมเชิงเดี่ยว พึ่งสารเคมี กลับมีความเป็นอยู่ที่แร้นแค้นลำบากยากจนอย่างยิ่ง
ท่ามกลางความลำบากยากจนของชาวอินเดีย และความแห้งแล้งกันดารของภูมิประเทศดังที่กล่าวมาข้างต้น ผมก็ยังพบความงดงามที่ทำให้ชื่นใจอยู่บ้างคือ บริเวณที่ลุ่ม ซึ่งเคยมีน้ำขังอยู่เมื่อฤดูฝนมาเยือน ปรากฏพืชชนิดหนึ่งนี้ออกดอกสะพรั่งงดงาม เป็นความโดดเด่นตัดกับสภาพแวดล้อมที่อยู่รอบด้าน
พันธุ์ไม้ดังกล่าวจำได้ว่า เคยพบเห็นอยู่ในชนบทของจังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อประมาณ 50 ปีมาแล้ว เพราะบางบ้านและบางวัดนำมาปลูกไว้ดูดอก เนื่องจากเป็นพันธุ์ไม้แปลกที่มาจากต่างถิ่น แม้ปัจจุบันจะหาดูไม่ได้แล้ว แต่ผมก็ยังจำได้ถึงชื่อที่เคยเรียกขานนามว่าผักบุ้งฝรั่ง
ผักบุ้งฝรั่ง : ความงามสาธารณะจากต่างแดน
ผักบุ้งฝรั่งมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Ipomoea purpures (L.) Roth อยู่ในวงศ์ Convolvulaceae เป็นไม้พุ่มยืนต้น สูงราว 180 – 240 เซนติเมตร (1.8 – 2.4 เมตร) แตกกิ่งก้านสาขาค่อนข้างมาก ลำต้นมีเปลือกสีเขียว
ใบ เป็นใบเดี่ยวรูปร่างคล้ายใบผักบุ้ง แต่ขนาดใหญ่กว่า ก้านใบยาว ใบมีสีเขียวเข้ม และมีขนอ่อนปกคลุม
ดอก ออกเป็นช่อ ตามยอดหรือปลายกิ่ง แต่ละช่อมีดอกราว 10 -20 ดอก โดยจะทยอยบานครั้งละ 2 – 4 ดอก ต่อเนื่องกันไป ดอกมีสีม่วงอ่อนหรือสีชมพูจาง ๆ ลักษณะคล้ายดอกผักบุ้ง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 - 7 ซม. ออกดอกตลอดทั้งปี
ผักบุ้งฝรั่งชอบแดดจัด ขึ้นได้กับดินทุกชนิด ชอบความชื้นสูงหรือที่เปียก ขยายพันธุ์ด้วยการปักชำหรือเพาะเมล็ด
ถิ่นกำเนิดดั้งเดิมของผักบุ้งฝรั่งอยู่ในทวีปอเมริกาบริเวณประเทศเม็กซิโกและเปรู ผักบุ้งฝรั่งในไทยนั้นเชื่อว่ามาจากประเทศอินเดียอีกทอดหนึ่ง ไม่ได้นำมาจากแหล่งกำเนิดโดยตรง น่าจะเข้ามาในประเทศไทยไม่เกิน 100 ปีที่ผ่านมานี้
ชื่อภาษาอังกฤษของผักบุ้งฝรั่งคือ Bush Morning Glory (มอร์นิ่งกลอรี่) ภาษาไทยเรียกผักบุ้งฝรั่ง ผักบุ้งพุ่ม ผักบุ้งรั้ว และผักบุ้งบก
ประโยชน์ของผักบุ้งฝรั่ง
ผักบุ้งฝรั่งเคยเป็นไม้ประดับของคนไทยเมื่อราว 50 ปีที่แล้ว พบปลูกทั่วไปตามบ้านเรือนและวัด ปัจจุบันความนิยมลดน้อยลงมาก แต่ยังพอหาพันธุ์มาปลูกได้ไม่ยาก เนื่องจากผักบุ้งฝรั่งเป็นไม้ยืนต้น ออกดอกตลอดปี ทั้งยังทนทานปลูกง่าย เมื่อออกดอกเต็มต้นแล้วจะมีความงดงามไม่ด้อยไปกว่าไม้ดอกชนิดอื่น ๆ จึงน่าจะหามาปลูกเอาไว้บ้าง เพราะแม้จะไม่ใช่ผู้ยากไร้ก็ชื่นชมผักบุ้งฝรั่งได้เช่นกัน
Subscribe to:
Posts (Atom)